Wednesday, October 8, 2008

เมื่อสถาบันทางการเมืองทั้งหลายล้มเหลว (?)


ความวุ่นวายโกลาหลที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ย่อมทำให้คนไทยจำนวนมากตั้งคำถามว่า มันเพราะเหตุใดกันที่ความรุนแรงเกิดบานปลายจนยอดผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงอย่างน่าใจหาย และเป็นยอดที่สูงที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรฯเริ่มการเคลื่อนไหวตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา

มีนักวิชาการหลายท่านวิเคราห์ว่า เหตุแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเพราะสถาบันทางการเมืองทั้งหมดล้มเหลว ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร รวมทั้งฝ่ายตุลาการ ที่ไม่สามารถดำเนินมาตรการใดๆ ที่จะสร้างความสงบให้เกิดขึ้นได้ 

ผมมีสักสามสี่เรื่่องในฐานะผู้สังเกตการณ์ที่คิดว่าเ ราน่าจะนำมาขบคิดกันหน่อย

อย่างแรกคือ (ขออนุญาตใ ช้เครื่องหมาย "..." มากหน่อยนะครับ) พันธมิตรฯ ในฐานะ "กลุ่มการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" นั้นมีข้อได้เปรียบอย่างชัดเจนในฐานะการเป็น "ภาคประชาชน" กล่าวคือ ในยุคที่ประเทศไทยกำลังเห่อ "สิทธิมนุษยชน" อย่างไม่ลืมหูลืมตาเช่นนี้ รวมทั้งอิสรภาพของสื่อมวลชนที่มีมากมาย ย่อมทำให้ ภาครัฐ รวมทั้งเครื่องไม้เครื่องมือทั้งหมดของภาครัฐ (ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร ฯลฯ) เป็นผู้ถูกจับตาอย่างยิ่งยวดในฐานะผู้ที่ถูกมอง (ด้วยสายตาอย่างโบราณ) ว่า "เป็นผู้ผูกขาดความรุนแรง"

การมองเ ช่นนี้ย่อมทำให้กลุ่ม "ภาคประชาชน" อย่างพันธมิตรฯ (บางส่วน) สามารถเล็ดลอดไปจากการถูกสอดส่องว่า พวกเขาเองเป็นผู้จุความรุนแรงขึ้นหรือไม่ เพราะไม่ว่าพวกเขาจะเริ่มหรือภาครัฐเป็นผู้เริ่ม ผู้ที่ได้เปรียบสุดท้ายคือพวกเขาอยู่ดี และภาครัฐก็จะยิ่งเสียความชอบธรรมต่อไปเรื่อยๆ แ ละน่าเป็นห่วงว่า เมื่อความรุนแรงบานปลายไปถึงอีกระดับหนึ่ง, รถถังจะออกมา (ซึ่งก็เป็นไปได้)

อย่างที่สอง เราควรจะมาตั้งคำถามกันถึงบทบาทของสถาบัน "ที่เรารู้กันอยู่ว่าใคร" ว่าอยู่ตรงจุดไหนในสถานการณ์นี้ มีลุงๆป้าๆ ที่ผมคุยด้วยตัดพ้ออกมาว่า ทำไมผู้ที่มีอำนาจที่แท้จริงไม่ออกมาจัดการกับเหตุความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่อำนาจสิทธิ์ขาดบางชนิดจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายลงไปได้อย่างง่ายดาย 
(ดังที่ได้เคยเกิดมาแล้ว) หรือมีเหตุผลอื่นๆ?

สถาบันการเมืองอาจจะไม่ได้ล้มเหลว แต่อำนาจอาจจะไม่มากพอก็เป็นได้ ทั้งนี้ นักวิชาการที่วิเคราะห์เรื่องการเมืองไทยไม่ควรละเลยบริบทนี้ ในการสร้างคำอธิบายเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไืทย ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือผลิตผลงานทางวิชาการ


ประการที่สาม พรรคการเมืองฝ่ายค้าน แม้ในทางหนึ่งจะพยายามรักษาจุดยืนของตนเอง แต่ในอีกทางหนึ่ง ในฐานะที่เป็นพรรคที่โลกแล่นในการเมืองไทยมาเป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ควรจะมีท่าทีใ นการรักษาประชาธิปไตยให้มากกว่านี้ ไม่ใช่ฉวยโอกาสไปเสียในทุกๆเรื่องๆ ซึ่งจะกลับกลายให้เป็นข้อถูกโจมตีของพวกเขาได้ในอนาคต 

พวกเขาเองต้องหาทางพยายามเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯด้วย (ในฐานะที่พันธมิตรฯ น่าจะฟังพวกเขามากกว่าฟังรัฐบาล) และสร้างข้อเจรจาให้เกิดเงื่อนไขให้หาทางออกกัน แทนที่จะใช้สถานการณ์เพื่อปูทางไปสู่อำนาจเพียงอย่างเดียว (ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดา)


เรื่องสุดท้าย ถึงเวลานี้ประเทศไทยได้เสียโอกาสและรายได้ไปแล้วเป็นจำนวนหลายหมื่่นล้าน ดังนั้น หลายๆฝ่ายต้องพยายามนำเสนอเรื่องต่างๆเหล่านี้ให้มากขึ้นอีก อย่าพยายามชี้ให้เห็นว่า "เราจะได้อะไรร่วมกัน" หากเกิดความ "สมานฉันท์" ขึ้น แต่จะต้องชี้ให้เห็นว่า "เราจะเสียอะไรร่วมกัน" หากมันดำเนินต่อไปเช่นนี้ 

ดูกันต่อไปแล้วกันครับ




No comments: