Tuesday, February 2, 2010

ซาลินเจอร์ สงครามชีวิตและไฟไหม้น้ำ


ตั้งชื่อโพสต์ผสมปนเปกันอย่างนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์อย่างอื่น นอกเสียจากจะเล่าถึงประสบการณ์การอ่านเท่านั้นละครับ

ผมไม่มีเวลาจะได้นั่งละเลียดงานวรรณกรรมเท่าไหร่เลยในช่วงนี้ เอาเป็นว่าจะแค่เล่า้สู่กันฟังก็แล้วกัน


ผมเคยอ่านงานของเจ ดี ซาลินเจอร์เพียงงานเดียวเท่านั้นละครับ หนีไม่พ้น The Catcher in the Rye (1951) ซึ่งก็คงเหมือนใครๆที่อยากจะเริ่มอ่านงานของเขา

แต่ที่สำคัญกว่านั้น ในความทรงจำของผม นั่นคือหนังสือภาษาอังกฤษเล่มแรกที่ผมอ่านจนจบตั้งแต่ตัวอักษรแรกยันตัวสุดท้าย

ผมจำได้ว่าซื้อหนังสือเล่มนี้จากศูนย์หนังสือจุฬาฯ สยามฯ (ชั้นลอยจะเป็นหนังสือภาษาอังกฤษ) ด้วยเงินเก็บของตัวเิอง ไม่แน่ใจว่าสำนักพิมพ์อะำไร ปกขาวล้วน

เหตุผลหนึ่งที่เลือกก็เพราะเล่มมันบางดี เปิดอ่านไปหน้าสองหน้าแล้วก็พอเข้าใจ

ผมใช้เวลาไม่นานนักนั่งอ่านจนจบ แล้วก็รู้สึกว่าหนังสืออ่านง่ายดี ไม่ได้ใช้ศัพท์แสงอะไรยากเย็นนัก

ไม่รู้มาก่อนเลยว่างานชิ้นนี้ำโด่งดังแค่ไหน และไม่รู้ว่ามันไปเป็นแรงบันดาลใจในการสังหารศิลปินใหญ่ (ขอเสริมตรงนี้นิดหนึ่ง : คือผมคิดว่าการโปรยคำขายหนังสือประเภทว่า "หนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจของฆาตกรที่ฆ่าจอห์น เลนนอน" หรืออะไรเทือกนี้ เป็นวิธีทางการขายที่งี่เง่า ไร้ความรับผิดชอบ การพยายามเพิ่มยอดขายโดยสร้างภาพหนังสือเล่มนี้ให้เป็นเช่นนั้น ยิ่งจะปิดโอกาสให้เกิดการตีความใหม่ๆ [อันที่จริงงานของทรูแมน คาโพทีเองก็ถูกอ่านโดยฆาตกรเช่นกัน] ถ้าอย่างนั้นเราโฆษณาหนังสือที่นายพลบางคนชอบอ่านแล้วโฆษณาว่า "หนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจของการสังหารหมู่" อะไรแบบนี้ดีไหม?)

เมื่อรู้ข่าวการตายของซาลินเจอร์ ผมจึงนึกถึงเรื่องเหล่านี้ขึ้นมา ก็เท่านั้น...


เรื่องต่อมาผมเพิ่งอ่าน สงครามชีวิต งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของศรีบูรพาจบไป (พิมพ์ครั้งที่แปด กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กอไผ่, 2522 พิมพ์ครั้ืงแรกปีีัพ.ศ.2475) ซึ่งว่ากันว่างานชินนี้ได้ีรับอิทธิำพลมาจากงาน Poor Folk ของดอสโตเยฟสกี

ฉบับพิมพ์ครั้งที่แปดมีแุถมบทวิจารณ์ของรุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชนด้วย ก็ทำให้ได้รู้บริบทอยู่บ้างพอสมควร

ถ้าจะให้พูดอะไรบ้างก็อยากบอกแค่ว่า อยากรู้เหลือเกิน หากเรื่องดำเนินต่อไป ระพินทร์จะทำอย่างไร และเพลินจะกลับมาหาเขาหรือไม่

แต่จบเท่านั้นก็ได้ประเด็นครบถ้วนแล้วละครับ


เรื่องสุดท้ายเพิ่งอ่านจบไปเมื่อครู่นี้เอง รวมเีีิรื่องสั้น ไฟไหม้น้ำ ของราชามนัส จรรยงค์ (กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น, 2518 ราคาสิบบาทในสมัยนั้น)

ยิ่งอ่านงานแก ผมก็ยิ่งรู้สึกว่าแกนำสมัย ส่วนเรื่องประสบการณ์ รายละเอียดก็เป็นจุดแข็งของแกอยู่แล้ว

เรื่องส่วนในชุดนี้เป็นชีวิตของคนต่างจังหวัดล้วนๆ ไำ้ด้อารมณ์มาก ภาษาเดี๋ยวนี้ก็ต้องบอกว่้า "บ้านๆ" มาก ผมว่าเ้ด่นกว่างานรวมเรื่องสั้นบางชุด (ไม่รวมชุด "จับตาย") ด้วยซ้ำไป

เพิ่งรู้ว่า "นั่งตูบ" หมายความว่าอะไรวันนี้เอง