Friday, October 29, 2010

สงครามหนังสือต้องห้าม


เห็นข่าวสั้นๆ ในหนังสือพิมพ์เดอะ การ์เดี้ยน แปลมาแลกเปลี่ยนกันครับ
------

สงครามหนังสือต้องห้าม: อลัน ทราวิสเล่าเรื่องคดี Lady Chatterley's Lover

ระหว่างปี 1950 ถึง 1953 มีหนังสือมากกว่า 4,000 เล่มขึ้นบัญชีหนังสือต้องห้ามโดย Home Office และห้ามตีพิมพ์ อลัน ทราวิสจะมาเล่าเรื่องราวว่าอิสรภาพของวรรณกรรมในอังกฤษธำรงอยู่มาได้อย่างไร


ลูกบุญธรรมของ ดี เอช ลอว์เรนซ์ - บาร์บารา บาร์ มีอารมณ์เหมือนกับนักอ่านทั่วอังกฤษ เมื่อได้รู้ว่าคณะลูกขุนโอลด์ เบลี่ย์ ปฏิเสธที่จะให้หนังสือ Lady Chatterley's Lover เป็นหนังสือต้องห้าม "ฉันรู้สึกเหมือนหน้าต่างถูกเปิดออก และลมอันสดชื่นก็ได้พัดผ่านอังกฤษทีเดียว" เธอกล่าว

หนังสือ Lady Chatterley ต้องห้ามมาตั้งแต่ปี 1929 เมื่อศุลกากรเริ่มยึดชุดพิมพ์ครั้งแรกที่พิมพ์โดยสำนักพิมพ์อิตาเลียน หลังจากที่สำนักพิมพ์ในอังกฤษถูกสั่งห้ามพิมพ์หนังสือเล่มนี้

หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่เล่มแรกของลอว์เรนซ์ที่ถูกสิ่งที่เขาเรียกว่า "ความโง่เง่าอย่างแพะแก่ๆที่ใส่กระโปรงชั้นใน" (nanny-goat-in-a-white-petticoat silliness of it all) ต้องห้ามเท่านั้น งานต่อต้านสงครามที่ออกมาในปี 1915 ของเขา The Rainbow ก็ถูกแบนโดยผู้พิพากษาของ Bow Street จากการที่มันพูดถึงเรื่องเพศสัมพันธ์อย่างเปิดเผย

ไม่ได้มีแต่ลอว์เรนซ์คนเดียว ผู้คนไม่พอใจกันอย่างกว้างขวางเมื่อเห็นอังกฤษกลายเป็นประเทศที่เข้มงวดเรื่องการต้องห้ามหนังสือในช่วงเวลาของศตวรรษที่ 20

จุดสูงสุดคือระหว่างปี 1950 ถึง 1953 มีหนังสือมากกว่า 4,000 เล่ม และในนั้นเป็นนิยาย 1,500 เล่ม อยู่ในบัญชีหนังสือต้องห้ามที่ทำขึ้นอย่างลับๆ โดย Home Office และศุลกากร ในรายชื่อเหล่านั้นก็เป็นหนังสือที่ตัวหน่วยงานเองขึ้นอีกบัญชีหนึ่งว่าเป็นหนังสือคลาสสิก อาทิ Madame Bovary ของโฟลแบล์ Moll Flanders ของดาเนียล เดโฟ และ Decameron ของโบคัชชิโอ

การเซนเซอร์ทำกันอย่างจริงจังจริงๆ ในปี 1955 คนขายหนังสือในโซโหติดคุกสองเดือนจากการขายหนังสือ Lady Chatterley's Lover ปีก่อนนั้นมีคดีที่ตัดสินลงโทษไปภายใต้พ.ร.บ.การพิมพ์ปี 1867 และมีหนังสือ 167,000 เล่มถูกเผาทำลายโดยสกอตแลนด์ยาร์ด สำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงของอังกฤษติดคดีถึงห้าคดี ทำให้ส.ส.หนุ่มของพรรคเลเบอร์ รอย เจนกินส์ลุกขึ้นมาเรียกร้องการปฏิรูปกฎหมายการเซนเซอร์ และผลของมัน - พ.ร.บ.การพิมพ์ปี 1959 - กับ "สมบัติสาธารณะ" ได้ปกป้องงานจำนวนมากไม่วาจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปะ หรือการเรียนรู้ ได้ทำให้การตัดสิน Lady Chatterley มีผลใหม่ และเป็นผลให้วรรณกรรมของอังกฤษได้ธำรงอิสรภาพกว่าครึ่งศตวรรษจากนั้นเป็นต้นมา


อลันทราวิส
เดอะ การ์เีดี้ยน [http://www.guardian.co.uk/books/2010/oct/28/lady-chatterley-trial-war-on-obscenity]