
เนื่องด้วยผมไม่ได้มีหนังสือ Discipline and Punish: The Birth of the Prison (1977) ของมิเชล ฟูโกต์ อยู่กับมือจึงขออภัยหากไม่ได้อ้างอย่างตรงเผง แต่จะขอว่าไปตามความทรงจำก็แล้วกัน
หลังจากเปิดหนังสือเล่มนั้นอ่านไปแล้ว ผมว่าเกือบทุกคนที่อ่านหนังสือเล่มนั้นคงเป็นเหมือนกันกับผม คือวางไม่ลง ไม่รู้จะหยุดอ่านอย่างไร - โดยเฉพาะความตะลึงงันจากการโหมโรงด้วยฉากการประหารโดยการฉีกร่างนักโทษออกเป็นชิ้นๆ และอะไรหลายๆอยางที่ตามมา
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจับใจความได้ นั่นก็คือเมื่อสังคมยุโรปเปลี่ยนเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงการลงโทษไป จากการลงโทษที่กระทำลงไปที่ร่างกายนั้น ได้เปลี่ยนแปลง - หรือเพิ่ม - โดยการลงโทษด้วยการจองจำ
การลงโทษด้วยการจองจำนั้นแตกต่างออกไปอย่างไร แกได้ยกมาหลายข้อ โดยสำคัญคือมีการเฝ้าดู ('Surveiller' ในภาษาฝรั่งเศสแปลเป็น 'Discipline' ในฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสภาวะที่ "อำนาจ" ได้ย่างกรายเข้าไปถึงในระดับชีวิตประจำวันของคน
แกเสนอว่าสภาวะเช่นนี้หาได้เป็นการก้าวหน้าของมนุษยชาติไปสู่ความมีเสรีภาพมากขึ้นในสังคมสมัยใหม่ไม่ หากแต่การลงโทษด้วยการจองจำนั้น ได้ย้ายการลงโทษของมนุษย์ต่อมนุษย์จาก "ร่างกาย"(Body) ไปสู่ "วิญญาณ" (Soul) ของผู้ที่ถูกลงโทษเลยทีเดียว
"สรรพทัศน์" (แปลจาก 'Panopticon' - ด้วยคำแปลของอ.นพพร ประชากุล) เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ในอันจะสอดส่อง ตรวจตราพฤติกรรมของผู้ต้องโทษให้อยู่ใต้ "บงการ" ของอำนาจ
และเมื่อนั้นวิญญาณของผู้ถูกลงทัณฑ์ก็จะถูกกัดกินทีละน้อยๆ...
ผมได้ยินเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติการ "ล่าเนื้อมนุษย์" หรือ "ล่าแม่มด" (witch hunting) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟสบุ๊คมาสักพักแล้ว อย่างน้อยก็ปีกว่าๆ โดยเฉพาะในช่วงการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อแดง เมื่อมีนาฯ - พฤษภา '53 นั้น ในเฟสบุ๊คนี่มีการแล่เนื้อเถือหนังกันอย่างโจ๋งครึ่มทีเดียว มีการขุดคุ้ยประวัติส่วนตัวขึ้นมา มีการด่าทอ วิพากษ์วิจารณ์ และตั้งกลุ่มขึ้นมาหาสมาชิกเกลียดคนอื่นร่วมกัน ฯลฯ
ผมคิดว่าก่อนและหลังปรากฏการณ์ล่าแม่มด/พ่อมดเสื้อแดงในเครือข่ายออนไลน์ชาวไทยนั้น ก็มีการ "ล่า" กันโดยตลอดอยู่แล้ว แต่ระดับความเข้มข้นคงจะตางกันออกไป (ขึ้นอยู่กับตัวเลขของผู้เข้าร่วม) - และผลกระทบต่อผู้ที่ "ถูกล่า" ก็คงจะแตกต่างกันออกไปด้วย ที่น่าสนใจและผมอยากรู้คือ ความเข้มข้นของปฏิบัติการ "ล่า" มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งทางการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคม ของแต่ละประเทศอย่างไร พูดง่ายๆก็คือ ในประเทศอื่นๆที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงเช่นประเทศไทย มีปฏิบัติการล่าเนื้อมนุษย์เข้มข้นเหมือนกันหรือไม่?
หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์เพิ่งเอาข้อวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์มา โดยมีการยกตัวอย่างถึงกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาอายุ 17 ปีและกรณีที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่นจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งมาสู่ข้อสรุปที่ว่าในขณะที่ยุคเครือข่ายทางสังคมออนไลน์กำลังเติบโตสุดขีด มันก็ได้สร้างผลเสียโดยผู้คนได้แสดงพฤติกรรมโดยขาดความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น เพราะพวกเขารู้สึกว่าไม่ต้องรับผิดชอบต่อการด่าทอและใส่ร้ายผู้อื่นแต่อย่างใด - คือตีหัวแล้วเข้าบ้านได้อย่างสบายใจเฉิบนั่นละครับ
ปฏิกิริยาที่ผมได้รับจากสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็คือ ในสมาชิกหลายร้อยล้านคนก็ย่อมจะต้องมีผู้ใช้ที่ดีบ้างไม่ดีบ้างเป็นเรื่องธรรมดา - เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างเรื่องดีๆได้อีกมากมาย มากกว่าเรื่องที่ไม่ดีแยะ ฯลฯ
ไม่มีใครเถียงเรื่องนั้นครับ และทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็ไม่ได้ถามว่าเราควรใช้เครือข่ายออนไลน์หรือไม่ - ประเด็นที่สำคัญกว่าคือเวลานี้เครือข่ายออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของคนในสังคม (อย่างน้อยก็คนที่มีการศึกษา ชนชั้นกลาง) ไปแล้ว และสิ่งที่มันเปลี่ยนได้อย่างสำคัญคือ เรื่องของการ "ลงทัณฑ์" นี่ละ
จากการที่ฟูโกต์พูดถึงการเปลี่ยนแปลงในการลงโทษของมนุษย์เมื่อโลกเข้าสู่สมัยใหม่ในศตวรรษที่ 18 นั้น บัดนี้ในศตวรรษที่ 21 การ "เฝ้าดูและการลงโทษ" นั้นเปลี่ยนแปลงไปอีกแล้ว
พึงเข้าใจไว้ด้วยนะครับ เมื่อคุณตัดสินใจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ขนาดอภิมโหฬารแล้วล่ะก็ คุณได้ "ให้อนุญาต" ตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกแห่งการลงทัณฑ์แบบใหม่ที่ผมกล่าวมาด้วย
กล่าวคือ ในขณะที่ "การจองจำ" ตามที่ฟูโกต์เสนอนั้นเป็นเรื่องของสถาบันทางสังคมที่จัดการบงการ หรือสร้างความเป็น "ระเบียบเรียบร้อย" โดยในขณะเดียวกันก็ทำการลงโทษผู้ที่ไม่ "เข้าที่เข้าทาง" - เครือข่ายออนไลน์ขนาดใหญ่ได้ขยายสถานที่จองจำออกมาจากความหมายดั้งเดิม ให้การจองจำมาอยู่ในระดับชีวิตประจำวันโดยแท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับทัณฑสถาน เสมอไป
หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง คือโลกศตวรรษที่ 21 นั้น ในขณะที่ทุกคนพูดว่าเรากำลังเข้าใกล้กันมากขึ้น ในทางกลับกันก็หมายความว่า ทัณฑสถานนั้นได้ขยายขนาดให้เราเข้ามาอยู่เป็นนักโทษในห้องขังเดียวกันนั่นเอง
ในขณะที่ "ผู้พิพาษา" กำลังเปลี่ยนความหมายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปเป็นทุกๆคน - รวมทั้งตัวคุณด้วย - สามารถทำการ "ตัดสิน" โทษของใครก็ตามที่กำลัง "นอกลู่นอกทาง" (ฮ่า! คราวนี้ไอ้ฟักก็สามารถเอาคืนได้ละ หากมีอินเตอร์เนต!) และ "สรรพทัศน์" ไม่ได้เป็นหอคอยที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางเพื่อเฝ้าดูอีกต่อไป แต่สรรพทัศน์ได้แทรกเข้าไปที่ม่านตาของนักโทษทุกคนให้สอดส่องกันและกันเอง เป็นการเฝ้าดูอย่างสมบูรณ์แบบ (perfect surveillance)
เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจหากจู่ๆจะมีคนเกลียดขี้หน้ากันโดยที่แต่ละคนก็ยังไม่รู้สาเหตุมากขึ้น เพราะกระบวนการลงทัณฑ์ได้ทำงานแล้วอย่างไรละครับ มันจะทำงานไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ไม่ต้องมีลูกขุน ไม่ต้องมีตุลาการ ไม่ต้องมีอัยการสั่งฟ้อง มีเพียงการตัดสิน การคว่ำบาตร การเขม่น การซุบซิบนินทา การก่นด่า ฯลฯ
มันเป็นการเฝ้าดูสมบูรณ์แบบก็เพราะว่า แม่ว่าทุกคนรู้สึกว่าถูกเฝ้าดู (และตรวจสอบ) แต่พวกเขาเต็มใจ และยินยอมจะถูกเฝ้าดู ยินยอมจะเป็นส่วนหนึ่งของมันโดยดุษฎี
โดยที่ผมยังไม่แน่ใจว่ามันต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง
หลังจากเปิดหนังสือเล่มนั้นอ่านไปแล้ว ผมว่าเกือบทุกคนที่อ่านหนังสือเล่มนั้นคงเป็นเหมือนกันกับผม คือวางไม่ลง ไม่รู้จะหยุดอ่านอย่างไร - โดยเฉพาะความตะลึงงันจากการโหมโรงด้วยฉากการประหารโดยการฉีกร่างนักโทษออกเป็นชิ้นๆ และอะไรหลายๆอยางที่ตามมา
แต่สิ่งหนึ่งที่ผมจับใจความได้ นั่นก็คือเมื่อสังคมยุโรปเปลี่ยนเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 มนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงการลงโทษไป จากการลงโทษที่กระทำลงไปที่ร่างกายนั้น ได้เปลี่ยนแปลง - หรือเพิ่ม - โดยการลงโทษด้วยการจองจำ
การลงโทษด้วยการจองจำนั้นแตกต่างออกไปอย่างไร แกได้ยกมาหลายข้อ โดยสำคัญคือมีการเฝ้าดู ('Surveiller' ในภาษาฝรั่งเศสแปลเป็น 'Discipline' ในฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งเป็นสภาวะที่ "อำนาจ" ได้ย่างกรายเข้าไปถึงในระดับชีวิตประจำวันของคน
แกเสนอว่าสภาวะเช่นนี้หาได้เป็นการก้าวหน้าของมนุษยชาติไปสู่ความมีเสรีภาพมากขึ้นในสังคมสมัยใหม่ไม่ หากแต่การลงโทษด้วยการจองจำนั้น ได้ย้ายการลงโทษของมนุษย์ต่อมนุษย์จาก "ร่างกาย"(Body) ไปสู่ "วิญญาณ" (Soul) ของผู้ที่ถูกลงโทษเลยทีเดียว
"สรรพทัศน์" (แปลจาก 'Panopticon' - ด้วยคำแปลของอ.นพพร ประชากุล) เป็นสถาปัตยกรรมที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ในอันจะสอดส่อง ตรวจตราพฤติกรรมของผู้ต้องโทษให้อยู่ใต้ "บงการ" ของอำนาจ
และเมื่อนั้นวิญญาณของผู้ถูกลงทัณฑ์ก็จะถูกกัดกินทีละน้อยๆ...
ผมได้ยินเรื่องเกี่ยวกับปฏิบัติการ "ล่าเนื้อมนุษย์" หรือ "ล่าแม่มด" (witch hunting) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟสบุ๊คมาสักพักแล้ว อย่างน้อยก็ปีกว่าๆ โดยเฉพาะในช่วงการเคลื่อนไหวทางการเมืองของคนเสื้อแดง เมื่อมีนาฯ - พฤษภา '53 นั้น ในเฟสบุ๊คนี่มีการแล่เนื้อเถือหนังกันอย่างโจ๋งครึ่มทีเดียว มีการขุดคุ้ยประวัติส่วนตัวขึ้นมา มีการด่าทอ วิพากษ์วิจารณ์ และตั้งกลุ่มขึ้นมาหาสมาชิกเกลียดคนอื่นร่วมกัน ฯลฯ
ผมคิดว่าก่อนและหลังปรากฏการณ์ล่าแม่มด/พ่อมดเสื้อแดงในเครือข่ายออนไลน์ชาวไทยนั้น ก็มีการ "ล่า" กันโดยตลอดอยู่แล้ว แต่ระดับความเข้มข้นคงจะตางกันออกไป (ขึ้นอยู่กับตัวเลขของผู้เข้าร่วม) - และผลกระทบต่อผู้ที่ "ถูกล่า" ก็คงจะแตกต่างกันออกไปด้วย ที่น่าสนใจและผมอยากรู้คือ ความเข้มข้นของปฏิบัติการ "ล่า" มีความสัมพันธ์กับความขัดแย้งทางการเมือง/เศรษฐกิจ/สังคม ของแต่ละประเทศอย่างไร พูดง่ายๆก็คือ ในประเทศอื่นๆที่มีความขัดแย้งทางการเมืองสูงเช่นประเทศไทย มีปฏิบัติการล่าเนื้อมนุษย์เข้มข้นเหมือนกันหรือไม่?
หนังสือพิมพ์มติชนออนไลน์เพิ่งเอาข้อวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์มา โดยมีการยกตัวอย่างถึงกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาอายุ 17 ปีและกรณีที่เกิดขึ้นในหลายๆประเทศในภูมิภาคเอเชีย เช่นจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งมาสู่ข้อสรุปที่ว่าในขณะที่ยุคเครือข่ายทางสังคมออนไลน์กำลังเติบโตสุดขีด มันก็ได้สร้างผลเสียโดยผู้คนได้แสดงพฤติกรรมโดยขาดความยับยั้งชั่งใจมากขึ้น เพราะพวกเขารู้สึกว่าไม่ต้องรับผิดชอบต่อการด่าทอและใส่ร้ายผู้อื่นแต่อย่างใด - คือตีหัวแล้วเข้าบ้านได้อย่างสบายใจเฉิบนั่นละครับ
ปฏิกิริยาที่ผมได้รับจากสมาชิกของเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็คือ ในสมาชิกหลายร้อยล้านคนก็ย่อมจะต้องมีผู้ใช้ที่ดีบ้างไม่ดีบ้างเป็นเรื่องธรรมดา - เครือข่ายสังคมออนไลน์สร้างเรื่องดีๆได้อีกมากมาย มากกว่าเรื่องที่ไม่ดีแยะ ฯลฯ
ไม่มีใครเถียงเรื่องนั้นครับ และทั้งหมดที่ว่ามานี้ก็ไม่ได้ถามว่าเราควรใช้เครือข่ายออนไลน์หรือไม่ - ประเด็นที่สำคัญกว่าคือเวลานี้เครือข่ายออนไลน์ได้เปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของคนในสังคม (อย่างน้อยก็คนที่มีการศึกษา ชนชั้นกลาง) ไปแล้ว และสิ่งที่มันเปลี่ยนได้อย่างสำคัญคือ เรื่องของการ "ลงทัณฑ์" นี่ละ
จากการที่ฟูโกต์พูดถึงการเปลี่ยนแปลงในการลงโทษของมนุษย์เมื่อโลกเข้าสู่สมัยใหม่ในศตวรรษที่ 18 นั้น บัดนี้ในศตวรรษที่ 21 การ "เฝ้าดูและการลงโทษ" นั้นเปลี่ยนแปลงไปอีกแล้ว
พึงเข้าใจไว้ด้วยนะครับ เมื่อคุณตัดสินใจเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ขนาดอภิมโหฬารแล้วล่ะก็ คุณได้ "ให้อนุญาต" ตัวเองเข้าไปอยู่ในโลกแห่งการลงทัณฑ์แบบใหม่ที่ผมกล่าวมาด้วย
กล่าวคือ ในขณะที่ "การจองจำ" ตามที่ฟูโกต์เสนอนั้นเป็นเรื่องของสถาบันทางสังคมที่จัดการบงการ หรือสร้างความเป็น "ระเบียบเรียบร้อย" โดยในขณะเดียวกันก็ทำการลงโทษผู้ที่ไม่ "เข้าที่เข้าทาง" - เครือข่ายออนไลน์ขนาดใหญ่ได้ขยายสถานที่จองจำออกมาจากความหมายดั้งเดิม ให้การจองจำมาอยู่ในระดับชีวิตประจำวันโดยแท้จริง โดยไม่จำเป็นต้องติดอยู่กับทัณฑสถาน เสมอไป
หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง คือโลกศตวรรษที่ 21 นั้น ในขณะที่ทุกคนพูดว่าเรากำลังเข้าใกล้กันมากขึ้น ในทางกลับกันก็หมายความว่า ทัณฑสถานนั้นได้ขยายขนาดให้เราเข้ามาอยู่เป็นนักโทษในห้องขังเดียวกันนั่นเอง
ในขณะที่ "ผู้พิพาษา" กำลังเปลี่ยนความหมายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไปเป็นทุกๆคน - รวมทั้งตัวคุณด้วย - สามารถทำการ "ตัดสิน" โทษของใครก็ตามที่กำลัง "นอกลู่นอกทาง" (ฮ่า! คราวนี้ไอ้ฟักก็สามารถเอาคืนได้ละ หากมีอินเตอร์เนต!) และ "สรรพทัศน์" ไม่ได้เป็นหอคอยที่ตั้งตระหง่านอยู่ตรงกลางเพื่อเฝ้าดูอีกต่อไป แต่สรรพทัศน์ได้แทรกเข้าไปที่ม่านตาของนักโทษทุกคนให้สอดส่องกันและกันเอง เป็นการเฝ้าดูอย่างสมบูรณ์แบบ (perfect surveillance)
เพราะฉะนั้นอย่าแปลกใจหากจู่ๆจะมีคนเกลียดขี้หน้ากันโดยที่แต่ละคนก็ยังไม่รู้สาเหตุมากขึ้น เพราะกระบวนการลงทัณฑ์ได้ทำงานแล้วอย่างไรละครับ มันจะทำงานไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ไม่ต้องมีลูกขุน ไม่ต้องมีตุลาการ ไม่ต้องมีอัยการสั่งฟ้อง มีเพียงการตัดสิน การคว่ำบาตร การเขม่น การซุบซิบนินทา การก่นด่า ฯลฯ
มันเป็นการเฝ้าดูสมบูรณ์แบบก็เพราะว่า แม่ว่าทุกคนรู้สึกว่าถูกเฝ้าดู (และตรวจสอบ) แต่พวกเขาเต็มใจ และยินยอมจะถูกเฝ้าดู ยินยอมจะเป็นส่วนหนึ่งของมันโดยดุษฎี
โดยที่ผมยังไม่แน่ใจว่ามันต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง
1 comment:
ขอกด like
Post a Comment